วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

ความหมายของวรรณคดีโดยวรรณคดีสโมสร ….พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งวรรณคดีสโมสร ลงวันที่ ๒๓ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๕๗ ได้ใช้คำว่าวรรณคดีเป็นครั้งแรกและได้กำหนดลักษณะวรรณคดีว่า ๑. เป็นหนังสือดี กล่าวคือ เป็นเรื่องที่สมควรซึ่งสาธารณชนจะอ่านได้โดยไม่เสียประโยชน์ คือ ไม่เป็นเรื่องทุภาษิตหรือเป็นเรื่องที่ชักจูงความคิดของผู้อ่านไปในทางอันไม่เป็นแก่นสารหรือ ซึ่งจะชวนให้คิดวุ่นวายไปในทางการเมืองอันจะเป็นเครื่องรำคาญแก่รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดังนี้เป็นต้น ๒. เป็นหนังสือแต่งดี ใช้วิธีเรียบเรียงอย่างใดๆก็ตามแต่ต้องเป็นภาษาไทยอันดีถูกต้องตามเยี่ยงที่ใช้ในโบราณกาลหรือในปัจจุบันกาลก็ได้ ในพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ได้กำหนดหนังสือดีและแต่งดีไว้ ๕ ประเภท คือ ๑. กวีนิพนธ์ คือ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ๒. ละครไทย คือ แต่งเป็นกลอนแปดมีกำหนดหน้าพาทย์ ๓. นิทาน คือ เรื่องราวอันผูกขึ้นและแต่งเป็นร้อยแก้ว ๔. ละครพูด ๕. คำอธิบาย (คือ เอสเสย์และแปมเฟลท) แสดงด้วยศิลปวิทยาหรือกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง(แต่ไม่ใช่ตำราหรือแบบเรียนหรือความเรียงเรื่องโบราณคดีมีพงศาวดาร เป็นต้น) ให้นับว่าเป็นหนังสือที่ควรพิจารณาในวรรณคดีสโมสรตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น